เมนู

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุธรรม ย่อมเกิดขึ้น เพราะปรารภเหตุ-
ธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย.
9. เหตุธรรมและนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
และนเหตุธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น
เพราะปรารภเหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย.

3. อธิปติปัจจัย


[19] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำเหตุธรรมให้หนักแน่น เหตุธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตเหตุทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
2. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

เพราะการกระทำเหตุธรรมให้อารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นนเหตุธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
3. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาปัจจัย และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะการกระทำเหตุธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุธรรมทั้ง
หลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นเหตุธรรม เป็นปัจจัยสัมปยุตตขันธ์, เหตุธรรม
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ พึงยกเอาข้อความตามบาลีที่ว่า "บุคคล
ให้ทานแล้ว " ใส่ให้พิสดาร จนถึงคำว่า "ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม".
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
5. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ พึงยกเอาข้อความตามบาลีข้างต้นมาใส่จนถึง
หทัยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตเหตุทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
6. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำกุศล-
กรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา เพราะกระทำกุศลกรรม
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม และเหตุ-
ธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.

พึงยกเอาข้อความตามบาลีที่ว่า " บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่
เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน จนถึงหทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุ-
ธรรม " มาใส่.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
เหตุธรรมทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
7. เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาอธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำเหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น เหตุธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
8. เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาอธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำเหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
9. เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
และนเหตุธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาอธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำเหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.

4. อนันตรปัจจัย


[20] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย

คือ เหตุธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
2. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ เหตุธรรมทั้งหลายเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
นเหตุธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดหลังๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
4. นเหตุธรรม เป็นแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ เนวสัญญาณาสัญญายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
5. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย